๕๐ ปีแห่งการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

     ตามโบราณราชประเพณี เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว จะทรงสถาปนา พระชายาเดิมขึ้นดำรงตำแหน่งที่อัครมเหสี และท้าวนางผู้ใหญ่กราบบังคมทูลถวายพระสนมสิบสองพระกำนัล ให้รับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณสืบไป ตามธรรมเนียมราชประเพณีที่มีมาแต่กาลก่อน
     ในปัจจุบันนี้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของประเทศตามการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทรงปฏิบัติตามระบอบประชาธิปไตย โดยทรงประกอบพระราชพิธีและทรงจดทะเบียน การสมรสตามแบบ ธรรมเนียมสามัญชน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช ๒๔๗๘ ทุกประการ เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ ดังพระนิพนธ์ของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต กรมหมื่นพิทยลาภ พฤฒิยากร

๕๐ ปีแห่งการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เสด็จขึ้นบนตำหนักชั้นบน เพื่อเฝ้า ฯ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม

สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ถวายน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ และทรงเจิมแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ถวายน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์
และทรงเจิมแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

     “ลุวันศุกร์ ขึ้น ๑๒ เดือน ๖ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ เวลา ๙.๓๐ น.” สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องแบบจักรีบรมราชวงศ์ประดับเครื่องราชย์อิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จไปยังวังสมเด็จพระราชบิดา เสด็จขึ้นสู่พระตำหนักสมเด็จพระศรีวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประทับ ณ ห้องรับแขก ในโอกาสนี้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้า แก่พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัยแล้ว หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ได้ทรงพาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ไปเฝ้าละอองพระบาท พลโทมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทูลเกล้าฯ ถวายทะเบียนสมรส สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระนามาภิไธยในทะเบียนสมรส และโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ลงพระนามในทะเบียนนั้น แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ราชสักขี คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และจอมพล ป. พิบูลสงคราม ลงพระนามและนามด้วย แล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นประทับ ในห้องพระราชพิธีชั้นบนพระตำหนัก ทรงจุดธูปเทียนถวายนมัสการพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๕ พร้อมด้วยหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงนามาภิไธยในทะเบียนสมรส

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงนามาภิไธยในทะเบียนสมรส

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ลงพระนามในทะเบียนสมรส

หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ลงพระนามในทะเบียนสมรส

พระบรมฉายาลักษณ์ หลังพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

พระบรมฉายาลักษณ์ หลังพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

     เวลา ๑๐.๔๕ น. สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า ถวายน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ และทรงเจิม แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทรงรดน้ำพระพุทธมนต์ เทพมนต์ และทรงเจิม แก่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสตามโบราณราชประเพณี
     เวลา ๑๑.๐๐ น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้องรับแขก พร้อมด้วยหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงบรรเจิดอักษรการ อาลักษณ์ อ่านประกาศสถาปนา หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เป็นสมเด็จพระราชินี แล้วพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ประดับเพชร แก่สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ แล้วสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เสด็จขึ้นประทับบนพระราชอาสน์ซึ่งทอดเคียงพระราชอาสน์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ลงพระนามในสมุดถวายพระพร แล้วพระราชทาน หีบบุหรี่เงินถม มีอักษรพระนามาภิไธย ภ.อ. กับ ส.ก. มีจักรและตรีศูลอยู่กลาง
     เวลา ๑๑.๓๐ น. เสด็จกลับ

พระบรมฉายาลักษณ์ หลังพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
พระบรมฉายาลักษณ์ หลังพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

ประกาศสถาปนา
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร

     มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ถูกต้องตามกฎหมายและราชประเพณีโดยสมบูรณ์ทุกประการแล้ว
     จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ทรงดำรงตำแหน่งพระอิสริยยศฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
     ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๓ เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลปัจจุบัน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี

การเสด็จออกมหาสมาคม
เนื่องในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ๒๔๙๓

     วันศุกร์ที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ เวลา ๑๖.๐๐ น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องเต็มยศ จอมพลทหารบก ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์สายสะพายมหาจักรีบรมราชวงศ์ พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินี ทรงรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จมายังพระที่นั่งไพศาลทักษิณมหินทรพิมาน เสด็จประทับเหนือพระราชอาสน์ ทรงรับฉันทานุมัติจากพระบรมวงศานุวงศ์ กราบบังคมทูลพระกรุณาถวายพระพรชัยมงคล ในการที่ได้ทรงประกอบ การราชพิธีราชาภิเษกสมรสดังนี้
     “ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ในศุภวาระดิถีมงคลสมัยที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ซึ่งได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ข้าพระพุทธเจ้า พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายต่างพากับปลาบปลื้มปิติโสมนัส ด้วยความจงรักภักดี ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท เป็นพลเทพย์แห่งพระราชวงศ์จักรี ได้ทรงพิจารณาเลือกสรรประสพผู้ที่สมควรแก่การสนองพระยุคลบาทร่วมทุกข์สุขแบ่งเบา พระราชภาระในภายภาคหน้า ข้าพระพุทธเจ้าและมวลสมาชิกแห่งพระราชวงศ์จักรี ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาสถวายพระพรชัยมงคล ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทและสมเด็จพระราชินี ขอให้ทรงพระเจริญด้วยพระชนมายุยิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญ ปราศจากสรรพโรคาพาธภัยพิบัติ จงประสบสรรพสิริสวัสดิพิพัฒนมงคล ขอให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทั้งสมเด็จพระราชินี เสด็จสถิตยเป็นศรีแก่พระราชจักรีวงศ์ชั่วกาลนาน”
     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ ดังนี้
     “หม่อมฉันและสมเด็จพระราชินีขอขอบพระทัยพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลาย ที่ทรงอำนวยพรในการที่ได้ประกอบพิธีพระราชาภิเษกสมรสในวันนี้ หม่อมฉันรู้สึกซาบซึ้งในความอารีที่ทรงมีแก่หม่อมฉัน ขอให้พระบรมวงศานุวงศ์จงทรงพระเจริญสวัสดีทุกพระองค์”

     ครั้นแล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีเสด็จออกพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน โดยสถานอุตราภิมุข ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตรและมโหระทึก ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี คณะรัฐมนตรี คณะทูต สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และข้าราชการ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
     ครั้นสุดเสียงประโคมแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสในการที่ได้ทรงประกอบการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสให้ผู้ที่มาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในมหาสมาคมทราบเกล้าทราบกระหม่อม ดังนี้
     “ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้เชิญท่านทั้งหลายมาประชุมครั้งนี้ เพื่อที่จะแจ้งให้ทราบว่า ข้าพเจ้าได้ประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ธิดาหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร ตามกฎหมายและประเพณีเมื่อเช้าวันนี้ ณ ตำหนักของสมเด็จพระอัยยิกาเจ้า ในวังสมเด็จพระราชบิดา ตำบลปทุมวัน เฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งได้ประทับเป็นประธานพร้อมด้วยพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ และข้าราชการผู้ใหญ่ในสภาทั้งสอง และรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ทะเบียนท้องถิ่น ดังได้ประกาศให้ทราบทั่วกันแล้ว”

หัวหน้าคณะทูตานุทูตกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในการที่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ๒๙ เมษายน ๒๔๙๓
หัวหน้าคณะทูตานุทูตกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในการที่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ๒๙ เมษายน ๒๔๙๓

หัวหน้าคณะทูตานุทูตกราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในการที่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส
ณ ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ๒๙ เมษายน ๒๔๙๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ๖ พฤษภาคม ๒๔๙๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง ๖ พฤษภาคม ๒๔๙๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออกจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณ โดยมีริ้วกระบวนเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรและเครื่องราชูปโภค ซึ่งเชิญโดยพระราชวงศ์ฝ่ายใน นำและตามเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออกจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณ โดยมีริ้วกระบวนเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรและเครื่องราชูปโภค ซึ่งเชิญโดยพระราชวงศ์ฝ่ายใน นำและตามเสด็จ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออกจากพระที่นั่งไพศาลทักษิณ
โดยมีริ้วกระบวนเชิญเครื่องเฉลิมพระราชมณเฑียรและเครื่องราชูปโภค ซึ่งเชิญโดยพระราชวงศ์ฝ่ายใน นำและตามเสด็จ

     ครั้นแล้ว จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี รับฉันทานุมัติจากผู้ซึ่งได้ไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในมหาสมาคมนั้น กราบบังคมทูลพระกรุณา แสดงความชื่นชมยินดีและถวายพระพรชัยมงคล ดังนี้

     “ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ในมหามงคลสมัยที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระกระแสพระราชดำรัส ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯพระราชทานกระแสพระราชดำรัสในการที่ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีสิริกิตต์ แล้วนั้น ข้าพระพุทธเจ้าในนามข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งหลายและผู้ซึ่งได้มาชุมนุมเฝ้าฯณ มหาสมาคมนี้ รู้สึกปลาบปลื้มและชื่นชมยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาสถวายพระพรชัยมงคล ขอให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับทั้ง สมเด็จพระราชินีสิริกิตต์ จงทรงพระชนมายุยิ่งยืนนาน เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติเป็นมิ่งขวัญแก่ประเทศชาติและพสกนิกรชาวไทย ขอจงพ้นจากสรรพอุปัทวันตราย มีพระราชประสงค์จำนงหมาย ในสิ่งใด จงบรรลุผลสำเร็จสมดังคำสัตยาธิษฐานนี้ ทุกประการ ด้วยเกล้า ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ”

     เสร็จแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีเสด็จขึ้นเมื่อเวลา ๑๖.๓๐น. ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตร และมโหระทึก ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ แตรวงบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี โปรดเกล้า ฯ ให้คณะทูตานุทูตเข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล แล้วเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ๗ พฤษภาคม ๒๔๙๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี โปรดเกล้า ฯ ให้คณะทูตานุทูตเข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล แล้วเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ๗ พฤษภาคม ๒๔๙๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี โปรดเกล้า ฯ ให้คณะทูตานุทูตเข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล แล้วเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ๗ พฤษภาคม ๒๔๙๓

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จออกมุขเด็จหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง โปรดเกล้า ฯ ให้คณะทูตานุทูตเข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล แล้วเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท ๗ พฤษภาคม ๒๔๙๓

     ๒๙ เมษายน ๒๔๙๓ เวลาเช้า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีสิริกิตต์ เสด็จออก ท้องพระโรงกลาง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ซึ่งมีคณะทูตานุทูตและกงสุลต่างประเทศเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสตอบ เวลาประมาณ ๑๑.๓๐น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีสิริกิตต์ ได้เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล ตำบลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โยขบวนรถไฟพิเศษ และได้เสด็จกลับคืนสู่พระมหานคร ในวันที่ ๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ เพื่อทรงประกอบพระราชพิธี บรมราชาภิเษก และพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรตามขัตติยราชประเพณีสืบไป