คำกราบทูล ของ นายจำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559 – 2560 (ครั้งที่ 40) ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2561

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561
คำกราบทูล(๑) 

ของ 
นายจำเนียร ยศราช 
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ - ๒๕๖๐ (ครั้งที่ ๔๐) 
ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 
วันอาทิตย์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ 

ขอพระราชทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท 

ข้าพระพุทธเจ้า นายจำเนียร ยศราช อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ขอพระราชทาน 
พระวโรกาสกราบทูลรายงานกิจการของมหาวิทยาลัย และจำนวนผู้เข้ารับพระราชทาน 
ปริญญาบัตร เพื่อทรงทราบฝ่าพระบาทโดยสังเขป ดังนี้ 

ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ มหาวิทยาลัย 
แม่โจ้ได้เปิดหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน ๕๗ หลักสูตร ระดับปริญญาโท 
จำนวน ๒๓ หลักสูตร ระดับปริญญาเอก จำนวน ๑๒ หลักสูตร มีนักศึกษา 
จำนวน ๑๙,๔๔๐ คน มีบุคลากรทั้งหมด จำนวน ๑,๗๙๐ คน ในจำนวนนี้ปฏิบัติ
หน้าที่สายวิชาการ จำนวน ๖๙๔ คน 

ด้านการวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนการทำาวิจัยอย่างต่อเนื่อง 
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานวิจัยที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศทางการเกษตรในระดับนานาชาติ 
ดังตัวอย่างผลงานวิจัย เรื่องการปรับปรุงพันธุ์ ปทุมมาลูกผสมข้ามชนิดเพื่อการค้า 
มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับงานพัฒนาพันธุ์ และผลิตเมล็ดพันธุ์ พืชผักเพื่อระบบเกษตรอินทรีย์ 
การบริหารจัดการระบบการสร้างอาชีพการเลี้ยงไก่ประดู่หางดำสำหรับเกษตรกรรายย่อย 


(๑) ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ 


41 

การประยุกต์ใช้พืชท้องถิ่นพัฒนาสูตรอาหารเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ 
การเลี้ยงปลาหมอเชิงพาณิชย์ กรรมวิธีการคงสภาพสาหร่ายสไปรูลิน่าเพื่อเพิ่มมูลค่าทาง 
โภชนาการในอาหารสัตว์นํ้า การศึกษาพัฒนาต้นแบบระบบบ่อเลี้ยงปลาแสงอาทิตย์
สำหรับชุมชน การออกแบบแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) กับผลิตผลเกษตรด้วยการ 
บังคับอากาศแนวตั้ง ผลิตภัณฑ์จากส่วนต่าง ๆ ของมะเกี๋ยงพืชอนุรักษ์ในโครงการ 
อนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ 
สยามบรมราชกุมารี ความหลากหลายของพรรณพืชและพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชุมชน 
ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ - ปุย จังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาอาชีพเกษตรปลอดภัย 
มุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตร อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คนรุ่นใหม่กับการ 
หวนคืนสู่การเกษตรบนพื้นที่สูง : กรณีศึกษาเกษตรกรกะเหรี่ยงรุ่นใหม่ในหมู่บ้านแม่ต๋อม 
อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลในระดับชาติ
และนานาชาติ ตัวอย่าง เรื่องอาหารเสริมนํ้าตาลพรีไบโอติกจากหัวหอม ระบบ 
คอมพิวเตอร์ควบคุมสำหรับไบโอรีแอคเตอร์จมชั่วคราวเพื่อการขยายพันธุ์ พืชระดับ 
อุตสาหกรรม สารสกัดสาหร่ายกรีนคาเวียร์อินทรีย์สำหรับผลิตภัณฑ์เวชสำอางชะลอวัย 
ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวอินทรีย์ และการวิเคราะห์เส้นทางที่มีอิทธิพลต่อการ 
ตัดสินใจผลิตข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเชียงใหม่ รางวัลโครงการดีเด่น เรื่อง ระบบผลิต 
ไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ร่วมกับพลังงานลมแบบไม่เชื่อมต่อสายส่งสำหรับชุมชน 
บนพื้นที่สูงในหุบเขาภาคเหนือ 

ด้านความร่วมมือกับต่างประเทศ มหาวิทยาลัยได้ขยายความร่วมมือทางวิชาการ 
ในระดับประชาคมอาเซียนและนานาชาติ โดยมีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ 
สถาบันการศึกษาและองค์กรต่างประเทศ ๗๘ แห่ง รวม ๑๗ ประเทศ ได้เข้าร่วม 
เป็นสมาชิกองค์กรระหว่างประเทศ รวม ๖ องค์กร ดำเนินการกิจกรรมด้าน 
ต่างประเทศ ตัวอย่าง เป็นประธานในการจัดตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยด้านการเกษตร 
แห่งภูมิภาคอาเซียน ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนการสอนและบริการวิชาการ 
ด้านการเกษตรแก่ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติ เรื่อง 
การบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพด้านการเกษตร เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนใน 
ภูมิภาคอาเซียน ในด้านหลักสูตร มีความร่วมมือกับต่างประเทศ ในระดับบัณฑิตศึกษา 
ได้แก่ หลักสูตรสหวิทยาการเกษตร กับ University Putra Malaysia และระดับ 
ปริญญาตรีหลักสูตรในโครงการ Educational Cooperation Program : ECP กับ 
Vanung University และ Guangxi University of Foreign Languages สาธารณรัฐ 
ประชาชนจีน 


42 
ด้านบริการวิชาการแก่สังคม มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการถ่ายทอดความรู้เพื่อ 
พัฒนาศักยภาพของชุมชน จึงจัดโครงการเพื่อปฏิบัติตามภารกิจดังกล่าว ตัวอย่าง 
โครงการอบรมให้ความรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ การอบรม 
เรื่องการเพาะพันธุ์ ไก่ประดู่หางดำ การอบรมหลักสูตร MagLade ผู้นำการเกษตร 
ยุคใหม่ สนองยุทธศาสตร์ชาติ Thailand ๔.๐ โครงการบูรณาการวิชาการแก่ชุมชน 
“ชุมชนรักษ์โลก” โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น โดยมี
สถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง โครงการพัฒนาชุมชนป่าต้นน้ำ ต้นแบบเพื่อความยั่งยืนของ 
ทรัพยากรธรรมชาติ (ดิน น้ำ ป่า ปัญญา และอาชีพ) โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้
งานโครงการพระราชดำริสู่เยาวชน โครงการฐานเรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนาตาม 
แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้มีการจัดพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยสำหรับเกษตรกร 
และนักศึกษาจำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัย ภายใต้โครงการ กาดแม่โจ้ ๒๔๗๗ เพื่อ 
เป็นศูนย์กลางตลาดสินค้าเกษตรปลอดภัยจากผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรง

ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์เป็น 
ศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้และถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในระดับนานาชาติ
จึงส่งเสริมสืบสานและอนุรักษ์โดยจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง โครงการสืบสาน 
ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น “วัฒนธรรม ดนตรี ประเพณี วิถีชีวิต” จัดพื้นที่
เผยแพร่ความรู้ ณ อาคารพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมและการเกษตรไทย โครงการศึกษา 
ดูงานการบริหารจัดการศิลปวัฒนธรรมเพื่อเรียนรู้และนำมาพัฒนาองค์กร และมี
ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติในเทศกาล 
ต่าง ๆ 

ด้านกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยส่งเสริมให้นักศึกษาทำงานด้วยจิตวิญญาณ 
สืบสานปณิธาน มุ่งสร้างความเป็นเลิศ เชิดชูความยุติธรรม และยึดมั่นในเกียรติภูมิของ 
สถาบันและสังคม จึงได้จัดโครงการสนับสนุนกิจกรรมตามภารกิจแก่นักศึกษา รวมถึง 
กิจกรรมที่สอดคล้องกับความมั่นคงและยั่งยืนด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่าง 
โครงการปลูกผักแลกค่าเทอม เป็นการสนับสนุนด้านอาหารปลอดภัยและสร้างรายได้
ให้แก่นักศึกษา การปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การแสดง 
ความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรม การปฏิบัติตนให้มีวินัยและความเป็นเลิศด้าน 
กีฬา สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตัวอย่าง การเข้าร่วมการประกวด 
แผนการตลาดส่งเสริมการท่องเที่ยว ฟาร์มโคนม ไทย - เดนมาร์ค และได้รับรางวัล 
นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ครัวอิ่มอุ่นเพื่อพี่น้องแม่โจ้” เป็นการสนับสนุนสุขภาวะด้าน 
อาหารแก่นักศึกษา


43 

ด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ทำให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย 
แม่โจ้เจริญก้าวหน้าด้วยดีมาโดยตลอด ในปีการศึกษา ๒๕๖๐ สามารถผลิตบัณฑิตที่มี
ความรู้ความสามารถ อันจะเป็นกำลังสำาคัญของประเทศชาติ ในหลักสูตรต่าง ๆ ที่ 
เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันนี้ จำนวน ๔,๓๓๒ คน เป็นผู้สำเร็จการศึกษา 
ระดับปริญญาตรี จำนวน ๔,๑๐๗ คน ระดับปริญญาโท จำนวน ๒๑๕ คน และ 
ระดับปริญญาเอก จำนวน ๑๐ คน 

บัดนี้ ได้เวลาอันเป็นมหามงคลฤกษ์ ท่ามกลางสันนิบาตแห่งผู้ทรงคุณวุฒิ
คณาจารย์ บัณฑิต และทุกท่านที่มาชุมนุมอยู่ ณ ที่นี้ ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทาน 
กราบทูลเชิญใต้ฝ่าพระบาท พระราชทานปริญญากิตติมศักดิ์แก่ผู้ทรงคุณวุฒิ ปริญญาบัตร 
แก่ผู้สำเร็จการศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และโล่ศิษย์เก่าแม่โจ้ดีเด่น ดังที่รองอธิการบดี
และคณบดีแต่ละคณะ จะได้กราบทูลตามลำดับสืบไป 


ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม 


44