คำกราบทูล ของ ศาสตราจารย์สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ รายงานกิจการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประจำปีการศึกษา 2558 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช วันศุกร์ ที่ 7 ตุลาคม 2559

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ.2559

คำกราบทูล (๑)

ของ
ศาสตราจารย์สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
รายงานกิจการของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๘
ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช
วันศุกร์ที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๙

ขอพระราชทานกราบทูลทราบฝ่าพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้า
ศาสตราจารย์สมบัติ
ธำรงธัญวงศ์
รักษาการแทนอธิการบดี
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ขอพระราชทานพระอนุญาตกราบทูลรายงานกิจการของ
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พอสังเขป ดังนี้

ปีการศึกษา
๒๕๕๘
เป็นปีที่มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานครบรอบ
๒๓
ปี
นับตั้งแต่ปีการศึกษา
๒๕๔๑
ที่มหาวิทยาลัยเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีรุ่นแรก
จวบจนถึงปัจจุบัน
มหาวิทยาลัยได้ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีรวมแล้ว
๑๔
รุ่น
ปริญญาโท
๑๔
รุ่น
และปริญญาเอก
๑๑
รุ่น
ปัจจุบันมีหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งหมด
๖๓
หลักสูตร
จำแนกเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี
๓๕
หลักสูตร
ปริญญาโท
๑๖
หลักสูตร
และปริญญาเอก
๑๒
หลักสูตร
มีนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ทั้งหมด
จำนวน
๗,๕๔๓
คน
ปริญญาโท
๓๙๗
คน
และปริญญาเอก

(๑)
ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ

504

๑๒๐
คน
มหาวิทยาลัยมีการพัฒนานักศึกษาตั้งแต่แรกเข้าให้มีทั้งทักษะการเรียน
และทักษะการใช้ชีวิต
รวมทั้งพัฒนาสมรรถนะในด้านต่าง

ให้พร้อมต่อการประกอบ
อาชีพในอนาคต
นักศึกษาได้สร้างผลงานที่ได้รับรางวัลทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพ
หลายรายการ
อาทิ
รางวัลชนะเลิศสารคดีเชิงข่าว
รางวัลชมเชยการแข่งขันให้คำปรึกษา
ทางยาระดับประเทศ
รางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศระดับภาคใต้ในการแข่งขันพัฒนา
โปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น

คณาจารย์ได้จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคและวิธีการหลายรูปแบบที่มุ่งเน้น
ให้นักศึกษามีการเรียนรู้เชิงรุก
ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
มีการฝึกทักษะทั้งใน
สถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง
อีกทั้งได้มีความร่วมมือกับสถานประกอบการ
จำนวนมากในการจัดสหกิจศึกษาและโครงการเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน
เพื่อให้
นักศึกษาประสบความสำเร็จในการศึกษาและเป็นบัณฑิตที่มีความพร้อมในการประกอบ
อาชีพ
ดังตัวอย่างเช่น
การจัดการเรียนรู้โดยใช้การทำงาน
เป็นฐานของหลักสูตร
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
สำนักวิชาการจัดการ
เป็นรูปแบบการเรียน
การสอนที่ได้รับการยกย่องจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ว่าสามารถ
ช่วยพัฒนาทักษะความพร้อมในการทำงานของนักศึกษาได้เป็นอย่างดียิ่ง

ในภารกิจด้านการวิจัย คณาจารย์ นักวิจัย และเจ้าหน้าที่ ได้ร่วมกันดำเนินงาน
วิจัยเพื่อสร้างความรู้ใหม่และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
มีผลงานวิจัยที่โดดเด่น
ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ประจำปี
๒๕๕๘
ให้เป็น

ใน

งานวิจัยดีเด่นด้านชุมชนพื้นที่คือผลงานเรื่องการพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อ
รองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่
มีผลงานที่ได้รับคัดเลือก
จากเครือข่าย
Engagement
Thailand
โดยสถาบันคลังสมองของชาติ
และสำนักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย
ให้เป็นกรณีศึกษา
พันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม
ได้แก่
การปรับปรุงกระบวนการผลิตไม้ยางพารา
แปรรูปในโรงงานอุตสาหกรรม
การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในบริบทของการเปลี่ยนแปลง
:
กรณีชุมชน
แม่เจ้าอยู่หัว
อำเภอเชียรใหญ่
จังหวัดนครศรีธรรมราช
รูปแบบการแก้ปัญหาโรค
ไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนในพื้นที่เสี่ยงสูงจังหวัดนครศรีธรรมราช
:
จากระดับตำบล
“กำแพงเซาโมเดล”
ถึงระดับอำเภอ
“ลานสกาโมเดล”
และโมเดลปืนยางสำหรับช่วยฝึก
นักเรียนตำรวจ เป็นต้น

505

คณาจารย์มีผลงานวิจัยและวิชาการที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับนานาชาติจำนวน
๑๑๘
ชิ้น
ระดับชาติ
จำนวน
๕๐
ชิ้น
มีผลิตภัณฑ์นวัตกรรม
เช่น
การแปรรูปยาง
ธรรมชาติไร้กลิ่นไร้สี การป้องกันและรักษาเนื้อไม้ด้วยสารธรรมชาติ โปรแกรมการตัด
เนื้อไม้ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยให้เป็นที่รู้จัก
โดยทั่วไป นอกจากนี้วารสาร Walailak
Journal
of
Science
and
Technology ซึ่งเป็น
วารสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย
ยังได้รับค่า
SCImago
Journal
ranking
สูงเป็นลำดับที่
๑๐
ในจำนวนวารสารไทย
๒๖
ชื่อ
ที่อยู่ในฐานข้อมูล
SCOPUS

มหาวิทยาลัยได้ให้การบริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมในหลายรูปแบบ
ทั้งการให้ความรู้
การให้คำปรึกษา
การบริการทดสอบ
ครอบคลุมพื้นที่
๓๖
จังหวัด
ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคใต้
คณาจารย์ได้ถ่ายทอดความรู้และนำผลผลิตจาก
งานวิจัยไปใช้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
รวมทั้งมีการบูรณาการการวิจัยและ
การบริการวิชาการเข้ากับการเรียนการสอน

สำหรับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยได้ดำเนินภารกิจด้านนี้
ควบคู่ไปกับการวิจัย
การบริการวิชาการ
และการเรียนการสอน
มีการจัดกิจกรรม
การแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรมกับสถาบันการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน
มีการวิจัยพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในจังหวัดนครศรีธรรมราช
อาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์
ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกจัดกิจกรรมในวันสำคัญทางประเพณี
เผยแพร่ความรู้
ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมผ่านสื่อและกิจกรรมต่าง

อย่างต่อเนื่อง

ผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีความมุ่งมั่นตั้งใจ
ในการที่จะดำเนินงานให้ภารกิจด้านต่าง

ประสบผลสำเร็จและมีความเจริญก้าวหน้า
ยิ่ง

ขึ้น
เป็นมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิต
ผลิตผลงานวิจัยและวิชาการที่มีคุณภาพ
สนองตอบต่อความต้องการของชุมชน
สังคม
และประเทศชาติ
ดังวิสัยทัศน์
“มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
เป็นองค์การธรรมรัฐ
เป็นแหล่งเรียนรู้
เป็นหลักในถิ่น
เป็นเลิศสู่สากล”

สำหรับผู้ที่จะเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในวันนี้
ประกอบด้วย
ผู้สำเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาเอก
๑๔
คน
ระดับปริญญาโท
จำนวน
๓๙
คน
และ
ระดับปริญญาตรี
จำนวน
๑,๒๖๕
คน
และมีผู้ที่จะเข้ารับพระราชทานโล่กิตติการ

506
จำนวน

คน
โล่ประกาศเกียรติคุณอาจารย์ดีเด่น
จำนวน

คน
เหรียญรางวัล
ต่าง

จำนวน
๑๖
คน
และผู้ที่ได้รับรางวัลศึกษิตแห่งปี
ซึ่งเป็นผู้ที่ทำกิจกรรมเพื่อ
สังคม อันเป็นแบบอย่างที่ดี จำนวน ๕ คน

บัดนี้ได้เวลาอันเป็นอุดมมงคลแล้ว
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานพระวโรกาส
กราบทูลใต้ฝ่าพระบาทพระราชทานปริญญาบัตร
โล่กิตติการ
โล่ประกาศเกียรติคุณ
แก่อาจารย์ดีเด่น
เหรียญรางวัล
และรางวัลศึกษิตแห่งปีที่วลัยลักษณ์
แก่ผู้สำเร็จ
การศึกษา
ต่อจากนั้นขอพระราชทานพระโอวาท
เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแก่
บัณฑิต ผู้เข้าร่วมพิธี และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สืบไป

ควรมิควรแล้วแต่จะโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

507