คำกราบบังคมทูลรายงาน ของ นายอยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เนื่องในโอกาสนำเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเข้าเฝ้า ฯ วันพืชมงคล ณ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2559

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2559

คำกราบบังคมทูลรายงาน(๑)

ของ นายอยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์
เนื่องในโอกาสนำเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมเข้าเฝ้า ฯ วันพืชมงคล ณ โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
วันจันทร์ที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท

ข้าพระพุทธเจ้า นายอยุทธ์ หรินทรานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ในนามของ ผู้แทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศ
กรรมการสหกรณ์โคนม สมาชิกผู้รับนมสด สวนจิตรลดา และเหล่าข้าทูลละอองพระบาท รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้า
ล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทาน พระราชวโรกาสให้เหล่าข้าพระพุทธเจ้าได้เข้าเฝ้า ฯ
ทูลละอองพระบาทในวันนี้

ข้าพระพุทธเจ้า ขอพระราชทานกราบบังคมทูลรายงานสถานการณ์การเลี้ยง โคนมภายในประเทศ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต ในปี ๒๕๕๘ มีเกษตรกรผู้เลี้ยงโค ๑๖,๒๔๘ ครัวเรือน จำนวนโคนมทั้งหมด ๕๐๙,๕๒๔ ตัว
เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๗ ร้อยละ ๐.๑๙ และ แม่โครีดนมมีจำนวน ๒๓๕,๘๒๙ ตัว เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๗ ร้อยละ ๐.๓๙
มีผลผลิตนํ้านมดิบ ๑,๐๘๔,๑๖๒ ตัน เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๗ ร้อยละ ๑.๕๘ ปริมาณ นํ้านมดิบที่ผลิตได้เฉลี่ยวันละ ๒,๙๗๐ ตัน
ซึ่งคิดเป็นมูลค่านํ้านมดิบ ๒๐,๕๙๙ ล้านบาทต่อปี เนื่องด้วยจำนวนแม่โครีดนมเฉลี่ยในรอบปีมีจำนวนเพิ่มขึ้น
และอัตรา

(๑)
ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ

141

การให้นมที่สูงขึ้น ราคานํ้านมดิบอยู่ในเกณฑ์ดี เป็นผลจากเกษตรกรให้ความสำคัญ
ต่อการบริหารจัดการฟาร์มให้เป็นระบบตามมาตรฐานฟาร์มที่ดี มีประสิทธิภาพใน การเลี้ยง ทั้งเรื่องอาหารที่ใช้
และการคัดเลือกแม่โค จากโคนมสายพันธุ์ที่ดี ให้ปริมาณ นํ้านมมากและอัตราการผสมติดดี ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมส่วนใหญ่เป็น
เกษตรกรที่มีความพร้อม จึงส่งผลให้โคนมมีอัตราการให้นมที่สูงขึ้นและนํ้านมดิบ มีคุณภาพดีขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการนมภายในประเทศทั้งหมด ทำให้ ต้องมีการนำเข้านมผงประมาณ ๘๐,๒๕๖ ตันต่อปี

ระบบการซื้อขายนํ้านมดิบเป็นการซื้อขายตามคุณภาพนํ้านม และจากการ ที่เกษตรกรมีการนำเทคโนโลยีการเกษตรใหม่
เข้ามาปรับเปลี่ยนการผลิตนํ้านมดิบ ภายใต้นโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตนํ้านมโค และระบบส่งเสริมเกษตร แบบแปลงใหญ่
โดยการให้อาหารตามสูตรและความต้องการของโค ใช้ระบบรีดนมที่ เหมาะสม มีการควบคุมคุณภาพและการเก็บรักษาด้วยวิธีการหล่อเย็น
ช่วยลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพนํ้านมดิบ ให้เป็นเกรดพรีเมี่ยมได้ สามารถขยายตลาดเป็นเชิงพาณิชย์ มากขึ้น จากที่เดิมส่วนใหญ่ผลิตเป็นนมโรงเรียน
ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่ม สูงขึ้น

โคนมและผลิตภัณฑ์นมของประเทศไทย ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับในระดับอาเซียน โดยเฉพาะนมและผลิตภัณฑ์นม โดยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์นมในปี ๒๕๕๘ ทั้งหมด ๑๔๕,๘๕๙ ตัน มูลค่ารวม ๖,๔๐๘ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี ๒๕๕๗ ร้อยละ ๙.๔๑ ประเทศที่นำเข้าเป็นประเทศในอาเซียนทั้งหมด
ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ประเทศ สิงคโปร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศเมียนมาร์ และประเทศเวียดนาม

จากการที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จึงเป็นโอกาสของ สินค้าเกษตรของไทย ที่จะมีอนาคตสดใสในการส่งออกมากยิ่งขึ้น
แต่จำเป็นต้อง ได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาคเกษตรกร ภาคอุตสาหกรรม และ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
ให้ความร่วมมือในการพัฒนาและช่วยยกระดับการผลิต เข้าสู่มาตรฐานการผลิตทั้งระบบ ตั้งแต่ระดับฟาร์ม สถานที่รวบรวมผลผลิต และโรงงาน
แปรรูป ผ่านการรับรองสินค้าที่ได้มาตรฐาน เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและ ต่างประเทศ มีความมั่นใจในนมและผลิตภัณฑ์นมของประเทศไทย

142

ในโอกาสอันเป็นมหามงคลยิ่ง ข้าพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยตัวแทนเกษตรกร ผู้เลี้ยงโคนมจาก ๒๕ จังหวัด รวม ๗๑๙ คน
ขอพระราชทานพระราโชวาทเพื่อ เป็นสิริมงคล นำไปประพฤติปฏิบัติ และทำให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงโคนมของประเทศ
พัฒนารุ่งเรือง สมดังพระราชประสงค์ต่อไป

ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม

143