คำกราบบังคมทูล ของ รองศาสตราจารย์ คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ อธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสที่สภาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย ปริญญาดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ ณ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม 2562

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ.2562
คำกราบบังคมทูล(๑) 

ของ 
รองศาสตราจารย์ คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ 
อธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 
ประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 
ในโอกาสที่สภาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 
ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย 
ปริญญาดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ 
ณ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา 
วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๒ 

ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท 

ข้าพระพุทธเจ้า รองศาสตราจารย์ คุณหญิงวงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ 
อธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ขอพระราชทานพระราชานุญาตกราบบังคมทูล 
ประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 
ในโอกาสที่สภาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญา 
ดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ ดังนี้ 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นผู้ที่มีพระอัจฉริยภาพ 
ทางด้านดนตรีทรงเชี่ยวชาญดนตรีไทย โดยทรงเล่นเครื่องดนตรีไทยได้เกือบทุกชนิด 
แต่ที่ทรงโปรดอยู่ประจำ คือ ระนาดเอก ซอ และฆ้องวง โดยเฉพาะระนาดเอก 
พระองค์ทรงเริ่มหัดดนตรีไทยขณะที่ทรงศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๒ โรงเรียน 
จิตรลดา โดยทรงเลือกหัดซอด้วงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก และได้ทรงดนตรีไทยในงาน 

(๑) ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ 

22

กิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับวงดนตรีจิตรลดาของโรงเรียนจิตรลดาเสมอ หลังจากที่ทรง 
เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์
ทรงเข้าร่วมชมรมดนตรีไทยของสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะ 
อักษรศาสตร์ โดยทรงเล่นซอด้วงเป็นหลักและทรงเริ่มหัดเล่นเครื่องดนตรีไทย 
ชิ้นอื่นๆ ด้วย 

ในขณะที่ทรงพระเยาว์ เครื่องดนตรีที่ทรงสนพระทัย ได้แก่ ระนาดเอกและ 
ซอสามสาย ซึ่งพระองค์ทรงเริ่มเรียนระนาดเอกอย่างจริงจังเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ 
หลังจากการเสด็จทรงดนตรีไทย ณ บ้านปลายเนิน ซึ่งเป็นวังของสมเด็จพระเจ้า 
บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยมี อาจารย์สิริชัยชาญ 
ฟักจำรูญ เป็นอาจารย์ผู้ถวายการสอน ทรงเริ่มเรียนตั้งแต่การจับไม้ระนาด การตี
ระนาดแบบต่าง ๆ และท่าที่ประทับขณะทรงระนาด และทรงเริ่มเรียนการตีระนาดตาม 
แบบแผนโบราณ กล่าวคือ เริ่มต้นด้วยเพลงต้นเพลงฉิ่งสามชั้น แล้วจึงทรงต่อ 
เพลงอื่น ๆ ตามมา ทรงทำการบ้านด้วยการไล่ระนาดทุกเช้า จนกระทั่งพุทธศักราช 
๒๕๒๙ พระองค์จึงทรงบรรเลงระนาดเอกร่วมกับครูอาวุโสของวงการดนตรีไทย 
หลายท่าน ต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรก ในงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ ๑๗ 
ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเพลงที่ทรงบรรเลง คือ เพลงนกขมิ้น (เถา) 

ในด้านการขับร้อง พระองค์ทรงมีความสนพระทัยในการขับร้องเพลงไทย โดย 
ทรงเริ่มฝึกหัดการขับร้องด้วยพระองค์เองเมื่อครั้งยังทรงศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนจิตรลดา 
ทรงเริ่มต้นเรียนการขับร้องกับอาจารย์เจริญใจ สุนทรวาทิน อาจารย์ประจำชมรม 
ดนตรีไทยสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และทรงพระราชนิพนธ์บทขับร้อง 
เพลงไทยสำหรับพระราชทานให้แก่สถาบันการศึกษาและวงดนตรีไทยเพื่อนำไปบรรเลง 
และขับร้องเนื่องในโอกาสต่างๆ 

นอกจากดนตรีไทยแล้ว ยังทรงดนตรีสากลด้วย โดยทรงเริ่มเรียนเปียโน 
ตั้งแต่พระชนมายุ ๑๐ พรรษา หลังจากนั้น ๒ ปี ทรงฝึกเครื่องดนตรีสากลประเภท 
เครื่องเป่า กับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 
สามารถทรงแสดงทรัมเป็ตนำวงดุริยางค์ในงานคอนเสิร์ตสายใจไทย และทรงระนาดฝรั่ง 
นำวงดุริยางค์ในงานกาชาดคอนเสิร์ต ปัจจุบันได้ทรงฝึกฝนการทรงไวโอลินเพิ่มขึ้นอีกด้วย 

ด้วยความรักในด้านการทรงดนตรี พระองค์ทรงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริม อนุรักษ์
และทรงให้การอุปถัมภ์งานด้านศิลปะวัฒนธรรมของประเทศ ผ่านทางพระราชกรณียกิจ 

23