คำกราบบังคมทูล ของ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานกิจการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2561 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2561 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม 2562 (ภาคเช้า)

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2562
คำกราบบังคมทูล(๑) 

ของ 
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ 
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
รายงานกิจการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ 
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา 
จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๑ 
ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
วันพฤหัสบดีที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๒ 
(ภาคเช้า) 


ขอพระราชทานกราบบังคมทูลทรงทราบฝ่าละอองพระบาท 


ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกราบบังคมทูลรายงานกิจการและผลการ 
ดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในรอบปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำแนกตาม 
พันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ๔ ด้าน ได้แก่ การผลิตบัณฑิต การวิจัย พัฒนาและ 
นวัตกรรม การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 


ผลการดำเนินงานด้านการผลิตบัณฑิต 

ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ มหาวิทยาลัยมีนิสิตใหม่ จำนวน ๑๐,๑๖๐ คน 
จำแนกเป็นระดับปริญญาตรี ๖,๔๙๘ คน และระดับบัณฑิตศึกษา ๓,๖๖๒ คน 
มีนิสิตทุกชั้นปีศึกษาอยู่รวมจำนวนทั้งสิ้น ๓๗,๐๑๘ คน จำแนกเป็นนิสิตระดับปริญญา 
ตรี ๒๕,๓๘๑ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๖ และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ๑๑,๖๓๗ คน 
คิดเป็นร้อยละ ๓๑.๔ จำนวนนิสิตรวมของมหาวิทยาลัยในปีนี้น้อยกว่าปีที่แล้ว ๒๘ คน 


(๑) ถ้อยคำและอักขรวิธีตรงตามต้นฉบับ 


448

มีหลักสูตรการสอนรวม ๔๔๒ หลักสูตร โดยเป็นหลักสูตรนานาชาติและ 
หลักสูตรภาษาอังกฤษ ๙๘ หลักสูตร จำแนกตามระดับหลักสูตรได้เป็น หลักสูตร 
ระดับปริญญาตรี ๗๓ หลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา ๓๖๙ หลักสูตร ในจำนวนนี้
ส่วนใหญ่เป็นระดับปริญญาโท ๒๑๑ หลักสูตร

มหาวิทยาลัยได้ดำเนินงานในส่วนการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน อาทิ
การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการข้ามศาสตร์ การดำเนินการ Active Learning and 
Lifelong Education การเปิดสอนหลักสูตรศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรบัณฑิต 
สาขานวัตกรรมบูรณาการ (หลักสูตรนานาชาติ) เน้นการบูรณาการศาสตร์สาขาวิชา 
ด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาบัณฑิตที่มีสมรรถนะของศตวรรษที่ ๒๑ 
โดยมีการวางโครงสร้างทางเทคโนโลยีรองรับรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ๆ ส่งเสริม 
การเรียนรู้ด้วยตนเอง ให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง 
ในปัจจุบัน และโดยที่สามารถมองเห็นทิศทางในอนาคต 


ทางด้านกายภาพและบรรยากาศการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเน้นการใช้พื้นที่เพื่อให้
นิสิตได้เรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งโครงสร้าง 
อินเทอร์เน็ตเพื่อการเข้าถึงข้อมูลทุกพื้นที่ 


นอกจากนี้ มีการแลกเปลี่ยนอาจารย์นักวิจัยในปีที่ผ่านมา ในลักษณะ 
Outbound ๙๓๕ คน และ Inbound ๖๗๐ คน แลกเปลี่ยนนิสิตเพื่อไปศึกษา 
เสนอผลงานยังต่างประเทศ ๙๘๒ คน และรับนิสิตต่างชาติมาศึกษา/วิจัย/ฝึกงาน 
ที่จุฬาฯ ๑,๓๒๕ คน มีหน่วยงานสนับสนุนนวัตกรรมและ incubator เพื่อเปิดโอกาส 
การพัฒนาศักยภาพของนิสิตในรูปแบบ startup 


การดำเนินงานที่สำคัญอีกประการ คือ การสนับสนุนทุนการศึกษา แบ่งเป็น 
ทุนสำหรับนิสิตขาดแคลน ๑,๗๑๕ ทุน เป็นเงิน ๔๙.๔ ล้านบาท ทุนทำชื่อเสียง 
เป็นเงิน ๒.๓ ล้านบาท และมีนิสิตกู้ยืมเงินในกองทุนกู้ยืม ๔๖๒ คน เป็นวงเงินรวม 
๒๓.๕ ล้านบาท ส่วนในระดับบัณฑิตศึกษา จัดสรรทุน ๑๔ ประเภท ครอบคลุม 
ทั้งเพื่อการศึกษา การวิจัย การเสนอผลงาน รวมถึงการทำวิทยานิพนธ์ 


ผลสำเร็จในด้านการผลิตบัณฑิต ในปีที่ผ่านมามีนิสิตได้รับรางวัล ทำชื่อเสียง 
ให้กับมหาวิทยาลัย และเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งสิ้น ๖๗๓ รางวัล 


449

ผลการดำเนินงานด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม 

มหาวิทยาลัยมุ่งเป้าสร้างผลงานด้านวิชาการและด้านงานวิจัยที่มีลักษณะเป็น 
การสร้างองค์ความรู้การบูรณาการ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อนำไปพัฒนา 
ต่อยอดและใช้ประโยชน์ในวงกว้างได้ 


ในปีที่ผ่านมานี้ มหาวิทยาลัยมีการดำเนินการโครงการวิจัย ทั้งที่เป็นโครงการใหม่
และโครงการต่อเนื่อง รวม ๑,๙๘๙ โครงการ เป็นวงเงินงบประมาณรวม ๒,๐๐๐ 
ล้านบาท ตลอดช่วงที่ผ่านมา มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยหลายด้าน เพื่อ 
ส่งเสริมการวิจัยแบบมุ่งทิศทางที่ชัดเจน สร้างระบบสนับสนุน ได้แก่ 


มีการเพิ่มจำนวนกลุ่มนักวิจัยที่มีลักษณะการทำงานเป็นทีม ในลักษณะกลุ่ม 
๓ ระดับ คือ กลุ่มขับเคลื่อนการวิจัย (Special Task Force for Activating Research : 
STAR) ๔๑ กลุ่ม หน่วยปฏิบัติการวิจัย (Research Unit : RU) ๑๔๘ หน่วย และ 
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (Center of Excellence : CE) ๔๐ ศูนย์ รวม ๒๒๙ หน่วย 


การดำเนินโครงการสร้างเสริมพลังจุฬา ฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ ๒ ในส่วนส่งเสริม 
การวิจัย ในรูปแบบชุดโครงการวิจัยขนาดใหญ่ เสริมสร้างทีมวิจัยด้าน Frontier 
Research ส่งเสริมการสร้างพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ด้านการวิจัยกับนานาชาติ ด้วยทุน 
International Research Forum เสริมพันธมิตรเชิงรุกกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 
ของโลกในการผลิตนิสิตปริญญาเอกร่วมกัน ในปีนี้ได้เริ่มดำเนินการอย่างเป็น 
รูปธรรมในส่วนทุนสำหรับนิสิตปริญญาเอก และการทำวิจัยหลังปริญญาเอก 
(post-doctoral) สนับสนุนชุดโครงการที่น่าสนใจ เช่น ChulaAri เกี่ยวกับสังคมสูงวัย 
โครงการเกี่ยวกับ Robotics โครงการมะเร็ง โครงการพัฒนาต่อยอดสมุนไพร 


รางวัลผลงานการวิจัยในปีนี้ของมหาวิทยาลัย บุคลากรระดับอาจารย์และนักวิจัย 
ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการเชิดชูเกียรติ ได้รับรางวัลระดับชาติและระดับ 
นานาชาติรวมทั้งสิ้น ๑๐๙ รางวัล จำแนกเป็นรางวัลระดับนานาชาติ จำนวน ๓๖ 
รางวัล และรางวัลระดับชาติ จำนวน ๗๓ รางวัล 


ผลการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการ 

มหาวิทยาลัยให้บริการความรู้ทางวิชาการ จากความเชี่ยวชาญที่มีเพื่อบริการ 
สู่สังคม กิจกรรมในรอบปี มีการให้บริการรวม ๓,๕๔๒ โครงการ นับได้ 
๑๒๖,๑๔๕ ครั้ง มีผู้รับบริการ โดยประมาณ ๒.๗ ล้านคนหรือหน่วยงาน 


450

มหาวิทยาลัยมีแนวคิดที่จะส่งเสริมสังคมในด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 
รองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย โดยจัดทำโครงการ CHULA MOOC เป็นการเรียน 
ออนไลน์ที่เปิดให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึง ส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ออกสู่
สังคม ซึ่งที่ผ่านมาได้รับความสนใจเป็นอย่างดี หลักสูตรที่ได้รับความนิยม อาทิ
โครงการ SPACE ซึ่งเป็นหลักสูตรออนไลน์เสริมความรู้ทางธุรกิจ โดยคณะ 
พาณิชยศาสตร์และการบัญชี 


ในปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยยังได้สื่อสารข้อมูล ความรู้ทางวิชาการ และนำเสนอ 
ประเด็นที่มีผลกระทบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการนำเสนอ 
ผ่านสื่อออนไลน์ และการจัดเวทีจุฬาเสวนา ในหัวข้อ อาทิ “ฝ่าวิกฤตโรคพิษสุนัขบ้า” 
“สัตว์โลกถูกคุกคาม : วาระรอการแก้ไข” “จุฬา ฯ ฝ่าวิกฤตรับมือฝุ่น PM ๒.๕” เป็นต้น 


นอกจากนี้ จุฬา ฯ ได้ก่อตั้ง Chulalongkorn University Innovation Hub 
โดยสนับสนุนการสร้างทักษะของการเป็นผู้ประกอบการด้านนวัตกรรม สร้างแรงบันดาลใจ 
ทั้งเป็นการต่อยอดผลงานวิจัย สนับสนุนการพัฒนานิสิต และเปิดโอกาสแก่ประชาชน 
ทั่วไป 


ผลการดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
 
มหาวิทยาลัยถือว่างานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นพันธกิจสำคัญที่ได้
ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในรูปแบบกิจกรรมด้านการทำนุบารุงศาสนา งานแสดงศิลปะ 
และดนตรี และงานด้านวัฒนธรรมอื่น ๆ ตลอดทั้งปี รวมประมาณ ๕๘๕ โครงการ 
มีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า ๑๓๐,๐๐๐ คน กิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ การแสดงดนตรี
และนาฏศิลป์จุฬา ฯ วาทิต พิธีไหว้ครูดนตรีไทย การแสดงวงซิมโฟนีออร์เคสตราแห่ง 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “ร่วมร้องน้องพี่ ซิมโฟนีจุฬา ฯ” บรรเลงบทเพลงของ 
มหาวิทยาลัย ด้วยการเรียบเรียงบทเพลงสำหรับบรรเลงด้วยซิมโฟนีเป็นครั้งแรก 
โดยคณาจารย์และนิสิตเก่าซึ่งเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง นิทรรศการ “ทัศน์ ทัศน์ ทัศน์ 
ครั้งที่ ๖” ศิลปิน/ผู้จัดแสดงผลงาน โดยผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรมหาวิทยาลัย 
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมทางดนตรีตะวันตกที่ร่วมกับหน่วยงานระดับชาติ
และนานาชาติ กว่า ๒๐ ครั้ง 

ในปีนี้ มหาวิทยาลัยมีโอกาสจัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสพระราชพิธีบรม 
ราชาภิเษก อาทิการบรรยายพิเศษ หลักสูตรเสริมการศึกษาทั่วไประยะสั้น (CUVIP 


451

- - - - - ไฟล์ 0005 มีปัญหา - - - - -

ในปีการศึกษา ๒๕๖๑ มีผู้สำเร็จการศึกษารวม ๙,๔๒๙ คน ประกอบด้วย 
ดุษฎีบัณฑิต ๔๘๑ คน มหาบัณฑิต ๒,๘๓๕ คน ประกาศนียบัตรบัณฑิต ๕๒ คน 
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ๒๔๗ คน ปริญญาบัณฑิต ๕,๖๒๕ คน และ 
อนุปริญญา ๑๘๙ คน 


ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม 


453