พระโอวาท สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2557 – 2558 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ วันพฤหัสบดี ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2559

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559

พระโอวาท

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๗ – ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ วันพฤหัสบดี ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ข้าพเจ้ามาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีนี้ ขอแสดงความยินดีกับผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับ เกียรติในครั้งนี้ ทั้งขอแสดงความชื่นชมกับบัณฑิตใหม่ทุกคน ที่พากเพียรเล่าเรียน วิชาความรู้จนสำเร็จการศึกษา

ปัจจุบัน ความมั่นคงทางอาหารเป็นเรื่องที่ทุกประเทศพึงตระหนักและให้ ความสำคัญ เพราะส่งผลโดยตรงต่อความมั่นคงของประชากรและประเทศชาติ สำหรับประเทศไทยเรา แม้ว่าจะมีภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการทำเกษตรกรรม และมี แหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ แต่ยังคงมีปัจจัยหลายประการที่ส่ง ผลกระทบต่อการผลิตพืชอาหาร อาทิ พื้นที่การเกษตรลดลง เนื่องจากการนำ พื้นที่ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากระบบการผลิตที่พึ่งพิง ปัจจัยจากต่างประเทศ ฐานทรัพยากรธรรมชาติมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลง เนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก รวมทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาก เกินพอดี ปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา เพราะอาจเป็นเหตุให้ เกิดปัญหาความมั่นคงทางอาหารได้ในอนาคต แนวทางที่จะสร้างเสริมให้ประเทศชาติ มีความมั่นคงทางอาหารได้อย่างแท้จริงก็คือ การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในทุกกิจกรรมการผลิตในภาคเกษตรกรรม โดยดำเนินตามทางสายกลาง

49

อันประกอบด้วยความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ทั้งนี้ ให้ตั้งอยู่บนเงื่อนไขความรู้ ที่ประกอบด้วยความรอบรู้ รอบคอบ
และระมัดระวัง รวมทั้งเงื่อนไขคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน และอดทน ในฐานะที่ บัณฑิตทั้งหลายได้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย ที่มีชื่อเสียงด้านความเชี่ยวชาญทางการเกษตรหลายสาขา จึงต้องนำวิชาความรู้ ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาไปใช้พัฒนาภาคการเกษตรของชาติ ทั้งจะต้องศึกษาปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ แล้วน้อมนำมาเป็นหลักคิดสำคัญใน การดำเนินงานทุกขั้นตอน เพื่อให้เกิดความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ทั้งในระดับ ชีวิต สังคม และประเทศชาติ

ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขออวยพรให้บัณฑิตใหม่ ทุกคนประสบแต่ความสุขความเจริญ ทั้งขอให้ทุกท่านที่มาร่วมประชุมในที่นี้ มีแต่ ความผาสุกสวัสดีจงทั่วกัน

50