วันอังคาร ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2566

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2566

ข่าวในพระราชสานัก
พระบรมมหาราชวัง
วันอังคาร ที่ ๒๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๖
วันนี้ เวลา ๑๔.๔๕ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดาเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากวังสระปทุม ไปทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ณ อาคารจักรพงษ์ หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
ในโอกาสนี้ พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ประธานคณะกรรมการอานวยการจัดงาน “๕๐ ปี น้องใหม่จุฬา ฯ ๒๕๑๓” เฝ้าทูลละอองพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเงิน เพื่อสนับสนุนโครงการจัดสร้าง หอเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
เวลา ๑๗.๒๒ น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรม
ราชกุมารี เสด็จออก ณ วังสระปทุม พระราชทานพระราชวโรกาสให้คณะบุคคลต่าง ๆ เฝ้าทูลละอองพระบาท ตามลาดับ ดังนี้
– นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี นา คณะข้าราชการ และผู้แทนกลุ่มเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี เฝ้าทูลละอองพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายผลิตผลทางการเกษตรที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี
– ศาสตราจารย์ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วย คณะกรรมการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดาริ ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเจ้าหน้าที่มูลนิธิ ฯ นา นักวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฝ้าทูลละอองพระบาท กราบถวายบังคมลา ก่อนออกเดินทางไปเข้าร่วมการวิจัยอาร์กติกทางเรือ (Arctic Research Cruise) ร่วมกับสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน (PRIC) ปี ๒๕๖๖
ในวันเดียวกันนี้ เวลา ๐๙.๑๒ น. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์
อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จโดยรถยนต์พระที่นั่ง ไปยังท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อประทับเครื่องบินพระที่นั่ง เที่ยวบินที่ อาร์ทีเอเอฟ ๒๓๙ เสด็จเยือนประเทศมองโกเลีย ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๖
ในการเสด็จเยือนครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี จะทรงงานวิชาการในการนาสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ไปจัดการฝึกอบรม ด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมให้แก่บุคลากรภาครัฐ อาจารย์ และนักศึกษาของประเทศมองโกเลีย ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องด้านความปลอดภัยของสารเคมีและอนามัยสิ่งแวดล้อม และทรงเป็นผู้อานวยการหลักสูตรและวิทยากรให้การบรรยายพิเศษในหัวข้อหลัก รวมทั้งจะทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยชีววิทยาศาสตร์แห่งมองโกเลีย
อนึ่ง เมื่อวันจันทร์ ที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๙.๕๒ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดาเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปทอดพระเนตรการแสดงดนตรีคลาสสิกน้อมราลึกในพระกรุณาคุณ วาระครบ ๑๐๐ ปี วันประสูติ
/สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ …
– ๒ –
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
เมื่อเสด็จพระราชดาเนินถึง นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นายจุมพจน์ เชื้อสาย เลขาธิการทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิก ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พร้อมด้วยคณะกรรมการทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิก ในพระอุปถัมภ์ ฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จ จากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทอดพระเนตรนิทรรศการน้อมราลึกในพระกรุณาคุณสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และวีดิทัศน์ความเป็นมาของทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิก ในพระอุปถัมภ์ ฯ เสร็จแล้ว เสด็จเข้าหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ทอดพระเนตรการแสดงดนตรีคลาสสิกน้อมราลึก พระกรุณาคุณ วาระครบ ๑๐๐ ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ ซึ่งเป็นการแสดงเปียโนของเซอร์สตีเวน ฮัฟ (Sir Stephen Hough) นักเปียโนระดับโลกชาวอังกฤษ แสดงร่วมกับวงรอยัลบางกอกซิมโฟนีออร์เคสตรา โดยมีนายแซนเดอร์ เตเปน (Mr. Sander Teepen) เป็นวาทยกร การแสดงประกอบด้วย ๔ บทเพลง ได้แก่ โอเวอร์เจอร์ – รัสแลน แอนด์ ลุดมิลลา (Overture – Russlan and Ludmilla) ของมิคาอิล กลิงกา (Mikhail Glinka) บทเพลงเปียโน คอนแชร์โต หมายเลข ๒ (Piano Concerto No 2 in C minor, Op.18) ของเซียร์เกย์ รัคมานีนอฟ (Sergei Rachmaninof) บทเพลง เปเลอาส เอ เมลิซองเด (Pelléas et Mélisande, Op. 80) ของกาเบรียล โฟเร (Gabriel Fauré) และบทเพลง ๑๘๑๒ โอเวอร์เจอร์ (1812 Overture, Op. 49) ของปิออตร์ อิลิช ไชคอฟสกี (Piotr Ilyich Tchaikovsky) ในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เชิญช่อดอกไม้พระราชทานแก่ผู้แทนนักแสดงด้วย
สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจหลากหลายแขนง ทรงรับโครงการในพระอุปถัมภ์มากกว่า ๗๐ โครงการ ทั้งด้านการศึกษา การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์และการสาธารณสุข การต่างประเทศ การศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ กับทั้งยังมีพระปรีชาสามารถ ด้านการเขียน การกีฬา และการถ่ายภาพ รวมทั้งยังทรงสนพระทัยติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับดนตรีคลาสสิก และ เสด็จไปทอดพระเนตรการแสดงของนักดนตรีคลาสสิกที่มีชื่อเสียงอย่างสม่าเสมอ พร้อมทั้งทรงพระดาริที่จะพัฒนาวงการดนตรีคลาสสิกของไทยให้ก้าวหน้าขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๓ ทรงพระเมตตาพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งกองทุนสาหรับนักดนตรีคลาสสิก ชื่อ “กองทุนเพื่อส่งเสริมการศึกษาดนตรีของเยาวชน” ต่อมาในพุทธศักราช ๒๕๔๗ จึงเปลี่ยนเป็น “ทุนส่งเสริมดนตรีคลาสสิก ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์” เพื่อให้ขอบเขตของการสนับสนุนกว้างขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมดนตรีคลาสสิกให้แพร่หลายในประเทศไทย และส่งเสริมศิลปินที่มีความสามารถให้ได้รับโอกาสในการพัฒนา ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมการแสดงดนตรีระดับนานาชาติ ตลอดจนการไปศึกษาต่อต่างประเทศ พระปณิธานที่จะพัฒนาให้วงการดนตรีคลาสสิกในประเทศไทยทัดเทียมกับนานาประเทศ ได้นาไปสู่การก่อตั้ง “สถาบันดนตรี กัลยาณิวัฒนา” ในเวลาต่อมา ซึ่งนับเป็นก้าวกระโดดที่สาคัญของการยกระดับการศึกษาด้านดนตรีสากล ในประเทศไทย ในวาระครบ ๑๐๐ ปี วันประสูติ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศถวายพระเกียรติยกย่องให้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นบุคคลสาคัญของโลกด้านการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) จากพระกรณียกิจนานัปการที่ทรงปฏิบัติ ด้วยพระปณิธานแนวแน่ที่จะสร้างประโยชน์เพื่อประชาชนชาวไทยและสังคมโลก